Loading...
ทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ ต้องใช้เงินประกันเป็นเท่าใด
1.ปืนไม่มีทะเบียน 40,000 80,000 บาท
2.ครอบครองปืนมีทะเบียน (ปืนผิดมือ ) 20,000 40,000 บาท
3.มีกระสุนปืน 50,000 100,000 บาท
4.อาวุธปืนนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ , ปืนสงคราม 150,000 250,000 บาท
5.พกพาอาวุธปืนไม่มีทะเบียน 80,000 150,000 บาท
6.พกพาอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น 10,000 20,000 บาท
7.พกพาอาวุธปืนมีทะเบียนของตัวเอง 5,000 10,000 บาท
8. พกพาอาวุธปืนไปในงานรื่นเริงฯ 50,000 100,000 บาท
2.ครอบครองปืนมีทะเบียน (ปืนผิดมือ ) 20,000 40,000 บาท
3.มีกระสุนปืน 50,000 100,000 บาท
4.อาวุธปืนนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ , ปืนสงคราม 150,000 250,000 บาท
5.พกพาอาวุธปืนไม่มีทะเบียน 80,000 150,000 บาท
6.พกพาอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น 10,000 20,000 บาท
7.พกพาอาวุธปืนมีทะเบียนของตัวเอง 5,000 10,000 บาท
8. พกพาอาวุธปืนไปในงานรื่นเริงฯ 50,000 100,000 บาท
การขอประกันตัว คือ การปล่อยตัวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนคดี หรือปล่อยตัวระหว่างการพิจารณาของศาล มีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ
1.การปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกัน
2.การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกัน
3.การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน
ทำที่ไหน เมื่อไร
1. เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้อยู่ในอำนาจของศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี
2. เมื่อผู้ต้องหาถูกขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาลที่ออกหมายขังนั้น
3. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนี้
4. เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว หากมีอุทธรณ์หรือฎีกา แต่สำนวนยังมิได้ส่งไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วจะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนี้หากสำนวนส่งไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วจะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้นหรือยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี
5. กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นเด็กหรือเยาวชน ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว (อายุไม่เกิน 18 ปี) ตำรวจมีอำนาจควบคุมเด็กและเยาวชนได้เพียง 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นตำรวจต้องส่งตัวเด็กหรือเยาวชนให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเมื่อพนักงานอัยการฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลแล้ว การขอประกันตัวเด็กหรือเยาวชนต้องยื่นต่อศาล
ผู้มีสิทธิยื่นขอประกัน
1. ผู้ต้องหาหรือจำเลย
2. ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น ญาติพี่น้อง นายจ้าง ผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อน เป็นต้น
หลักทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันได้
1. เงินสด
2. หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3 ก
3. พันธบัตรรัฐบาลหรือสลากออมสิน
4. สมุดหรือใบรับฝากประจำของธนาคาร
5. ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายรับรองตลอดไปแล้ว
6. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
7. หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
8. บุคคลเป็นประกันและหลักประกัน
9. หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
หมายเหตุ
1. ในกรณีวางสมุดเงินฝากหรือใบรับฝากประจำของธนาคาร จะต้องนำหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบันดังกล่าวของธนาคารและมีข้อความอายัดจำนวนเงินนั้นมาแสดงด้วย
2.ในกรณีวางโฉนดที่ดิน น.ส. 3 ก จะต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอท้องที่ซึ่งออกให้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และต้องถ่ายสภาพที่ดิน จำนวน 2 รูป มาแสดงด้วย
3. ให้ผู้ขอทำสัญญาประกันด้วยบุคคล เสนอหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะอัตราเงินเดือนและหากมีภาระผูกพันในการทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันรายอื่นอยู่ก็ให้แสดงภาระผูกพันนั้นด้วย โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือน